ระยะนี้ มีข่าวผู้ที่มีผู้ที่เสนอตัวมาสร้างสุขให้กับสังคม ที่มีแรงจูงใจในการกระทำ คือ การมีอำนาจในการดำรงอยู่ในฐานะสมาชิกของรัฐเป็นสินจ้างรางวัล แรงจูงใจเช่นนี้ เป็นความสุ่มเสี่ยงอย่างยิ่ง ที่จะทำให้เกิดการมุ่งสู่เป้าหมายโดยไม่สนใจวิธีการ สุดท้ายการเข้าสู่ตำแหน่งด้วยแรงจูงใจที่เร่าร้อน คงส่งผลให้ใช้วิธีการที่ไม่ตรงกับวิธีการสรรหาผู้นำของสังคม การใช้วิธีการที่ไม่เหมาะสมเพื่อให้ได้รับการตอบสนองแรงจูงใจจะตามมา
.
“นักบริหารรัฐกิจที่เป็นนิติรัฐ จำต้องมุ่งสู่ภายใต้แรงบันดาลใจที่อยู่ในกรอบกฎกติกาของรัฐ มีความสุขที่จะกระทำการ ตามแรงบันดาลใจที่จะสร้างสุข ไม่ใช่ทุกข์ระทมในตอนกระทำ รอจนดัชนีความสุขเพิ่มขึ้นจึงจะมีความสุข ผู้บริหารบางคนจึงเลือกที่จะบริหารให้ดัชนีบรรลุ โดยไม่สนใจว่า จะตอบสนองให้เกิดความสุขที่ต้องการหรือไม่ แต่จะตอบสนองแรงจูงใจที่ได้รับมา”
นพ.ไพศาล เกื้ออรุณ อดีตนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด และนักสันติวิธี
คอลัมน์ : พบหมอไพศาล
.
ผมได้รับเชิญให้ไปบรรยายแรงบันดาลใจสำหรับผู้บริหารที่จังหวัดพังงา จากหน่วยงานระดับจังหวัดหน่วยหนึ่ง คำถามแรกของการเตรียมบรรยายคือ ตัวอย่างที่จะนำเสนอต่อผู้เข้ารับการอบรมมีบ้างหรือไม่
ผมพยายามค้นหาต้นแบบของการบริหารที่ใช้แรงบันดาลใจขับเคลื่อนงาน โดยไม่อาศัยแต่เพียงแรงจูงใจที่เป็นสิ่งเร้าที่ต้องพึ่งพา ก็พบว่าหาได้ไม่ง่ายนัก
ผู้บริหารที่ปรากฏอยู่ในตอนนี้ มักอาศัยแรงจูงใจที่ต้องพึงพามาขับเคลื่อนการทำงานจากสิ่งเร้าภายนอกเป็นส่วนใหญ่ เริ่มตั้งแต่ความพยายามเข้าสู่ตำแหน่งทางการบริหาร ผู้บริหารจำต้องสร้างแรงจูงใจให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งทั้งแบบการเลือกตั้ง และแบบพิจารณาด้วยดุลพินิจ
แรงบันดาลใจจะดีกว่าแรงจูงใจตรงไหน บางคนพยายามเหมาเอาว่า แรงจูงใจจากภายใน คือ แรงบันดาลใจ ซึ่งแม้จะใกล้เคียง คล้ายคลึงยิ่ง แต่ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน
แรงบันดาลใจ (Inspiration) เป็นแรงขับในตนเอง ที่ใช้ในการขับเคลื่อนการคิด และการกระทำใด ๆ เพื่อให้บรรลุผลที่ต้องการ โดยไม่ต้องอาศัยสิ่งจูงใจภายนอกมาแลกเปลี่ยน ส่วนแรงจูงใจ (Motivation) นั้นเป็น แรงขับให้คนมีพฤติกรรม กำหนดทิศทาง และเป้าหมาย โดยมีเงื่อนไขของการบรรลุเป้าหมายเป็นรางวัล ไม่ได้ขับเคลื่อนเพื่อเป้าหมายโดยแท้
แรงบันดาลใจจะเกิดความสุขในการกระทำเพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย ส่วนแรงจูงใจจะเกิดสุขเมื่อการเกิดผลตามที่มุ่งหวังไว้ เพื่อจะได้รับการตอบแทนอะไรบางอย่าง ระหว่างการดำเนินการ จึงจะทำอะไรก็ได้ เพื่อให้เกิดผลตามที่ต้องการ ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้คือ อดีตนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง ให้หลักในการทำงานว่า คุณจะทำอย่างไรก็ได้ ให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการ หากมีกฎกติกาเป็นอุปสรรค ก็ทำลายกติกานั้นเสีย ซึ่งเป็นแนวคิดที่อันตรายอย่างยิ่งสำหรับนิติรัฐ
การแสวงหาสุขให้เกิดขึ้น ต้องคำนึงถึงเส้นทางของการก่อให้เกิดสุขด้วย การสร้างสุขที่แท้จริงจำเป็นต้องมีแรงบันดาลใจที่จะสร้างสุขด้วยวิธีการที่ไม่สร้างปัญหาจากการมุ่งตอบสนองสู่เป้าหมายแห่งสุข หาไม่แล้วจะเกิดสุขแบบทรุนทุราย
“นักบริหารรัฐกิจที่เป็นนิติรัฐ จำต้องมุ่งสู่ภายใต้แรงบันดาลใจที่อยู่ในกรอบกฎกติกาของรัฐ มีความสุขที่จะกระทำการ ตามแรงบันดาลใจที่จะสร้างสุข ไม่ใช่ทุกข์ระทมในตอนกระทำ รอจนดัชนีความสุขเพิ่มขึ้นจึงจะมีความสุข ผู้บริหารบางคนจึงเลือกที่จะบริหารให้ดัชนีบรรลุ โดยไม่สนใจว่า จะตอบสนองให้เกิดความสุขที่ต้องการหรือไม่ แต่จะตอบสนองแรงจูงใจที่ได้รับมา”
ระยะนี้ มีข่าวผู้ที่มีผู้ที่เสนอตัวมาสร้างสุขให้กับสังคม ที่มีแรงจูงใจในการกระทำ คือ การมีอำนาจในการดำรงอยู่ในฐานะสมาชิกของรัฐเป็นสินจ้างรางวัล แรงจูงใจเช่นนี้ เป็นความสุ่มเสี่ยงอย่างยิ่ง ที่จะทำให้เกิดการมุ่งสู่เป้าหมายโดยไม่สนใจวิธีการ สุดท้ายการเข้าสู่ตำแหน่งด้วยแรงจูงใจที่เร่าร้อน คงส่งผลให้ใช้วิธีการที่ไม่ตรงกับวิธีการสรรหาผู้นำของสังคม การใช้วิธีการที่ไม่เหมาะสมเพื่อให้ได้รับการตอบสนองแรงจูงใจจะตามมา
สัญญานแห่งการแสวงหาคะแนนเสียง เพื่อตอบสนองแรงจูงใจที่ใช้สิ่งเร้าจากภายนอก มีความสุ่มเสี่ยงมากเกินกว่าที่สังคมควรจะเสี่ยง เชิญชวนสมาชิกของสังคมมองผู้ที่อาสามาสร้างสุขให้กับสังคมอย่างรอบคอบ ครบทุกมิติด้วยนะครับ…
.
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
บอลโลกกับการออกกำลังกาย : นพ.ไพศาล เกื้ออรุณ อดีตนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด และนักสันติวิธี
.
.
เมืองกีฬา เมืองแห่งความสุข (3) : นพ.ไพศาล เกื้ออรุณ อดีตนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด และนักสันติวิธี
.
ตรังเมืองแห่งความสุข (2) : นพ.ไพศาล เกื้ออรุณ อดีตนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด และนักสันติวิธี
.
โยนิโสมนสิการ หนองบัวลำภู : นพ.ไพศาล เกื้ออรุณ อดีตนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด นักสันติวิธี อดีตคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์ฅนตรัง
.