ตรังเมืองแห่งความสุข (2) : นพ.ไพศาล เกื้ออรุณ อดีตนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด และนักสันติวิธี

การสร้างสุขทางกาย ต้องทำให้คนตรังต้องปลอดภัยจากภัยคุกคาม ความต้องการพื้นฐานที่ต้องการอยู่รอด ซึ่งมีตัวชี้วัดคือ อายุขัยของคนตรังจะต้องยืนยาว ไร้โรคคุกคาม โดยที่ปี 2564 คนตรังอายุขัยเฉลี่ย 79 ปี มีสาเหตุของการสิ้นอายุขัยจาก โรคมะเร็ง เป็นอันดับหนึ่ง โรคของหลอดเลือด และหัวใจเป็นอันดับต่อมา งานแรกที่ต้องทำเพื่อสร้างสุขในร่างกายให้คนตรังจึงเป็นเรื่องนี้


นพ.ไพศาล เกื้ออรุณ อดีตนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด และนักสันติวิธี

“การดำเนินการสร้างตรังให้เป็นเมืองแห่งความสุข จำเป็นต้องมีแผนหลักปรากฎอยู่ในแนวทางก้าวเดินของเมือง แผนพัฒนาระดับต่าง ๆ จำต้องมุ่งสู่เหตุปัจจัยของการสร้างสุข คำถามของแผนจึงต้องเริ่มจาก ระดับสุขของคนตรังเป็นอย่างไร จะเพิ่มความสุขชนิดไหน อย่างไร โดยใครร่วมมือกันบ้าง จะมีตัวระบุการบรรลุผลอย่างไร”

นพ.ไพศาล เกื้ออรุณ อดีตนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด และนักสันติวิธี

ตรังจะเป็นเมืองแห่งความสุขได้ คนตรังต้องสุขก่อน จากนั้นจึงจะเผื่อแผ่สุขให้ผู้มาเยือนตรังได้ในลำดับต่อไป ความท้าทายคือ ทำอย่างไรให้คนตรังมีความสุขได้เสียก่อน

คำถามนี้คงต้องหาคำตอบไม่น้อยกว่าสี่ประการ ประการแรก อะไรคือสุขของคนตรัง แล้วตอนนี้คนตรังสุขทุกข์เพียงใด เราจะต้องทำอะไรบ้างเพื่อให้คนตรังมีสุข ประการสุดท้ายคือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่า คนตรังสุขสมกับที่จะเป็นเมืองแห่งความสุขแล้ว

สุข คือ ความสมประสงค์ในหวัง ความหวังที่ต้องการหากไม่สอดคล้องกับปัจจัยที่เป็นเหตุ ย่อมทำให้เกิดความไม่สมหวัง ผู้นำเมืองแห่งความสุข จำเป็นที่จะต้องสร้างความตระหนักในเรื่องนี้แก่สมาชิกด้วย

ความหวังที่คนต้องการ ประการแรกได้แก่ ความต้องการในการอยู่รอด คนเราจำเป็นต้องได้รับปัจจัยสี่ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค เพื่อให้อยู่รอด ไร้โรคคุกคาม หากสำเร็จจะเกิด สุขทางกาย เป็นสำคัญ

ความต้องการความปลอดภัย มีความมั่นคงในชีวิต มีชีวิตที่มีคุณภาพ หากสำเร็จระดับนี้จะเอื้อต่อการสุขทางจิตเพิ่มเข้าไป จากนั้น คนเราจะแสวงหาการยอมรับจากสังคม ต้องการมีคนรักใคร่ชอบพอ มีครอบครัวที่อบอุ่น ต้องการความภูมิใจในศักดิ์ศรีของตน มุ่งที่จะให้ได้รับการเคารพ ยกย่อง และชื่นชม ส่วนที่สามนี้ นับเป็นความสุขที่เรียกว่า สุขสังคม

ประการสุดท้าย เมื่อสมประสงค์ในหวังทุกอย่างแล้ว จะเกิดความต้องการที่จะเป็นตัวของตัวเองตามความเป็นจริง ถือเป็นสุขทางปัญญา จัดให้เป็นสุขระดับสูง

สำหรับคนตรัง ซึ่งความสุขก็ไม่ได้ต่างกับความสุขสากล ที่ประกอบด้วย สุขของร่างกาย สุขทางจิตใจ สุขทางสังคม และสุขทางปัญญา

การดำเนินการสร้างตรังให้เป็นเมืองแห่งความสุข จำเป็นต้องมีแผนหลักปรากฎอยู่ในแนวทางก้าวเดินของเมือง แผนพัฒนาระดับต่าง ๆ จำต้องมุ่งสู่เหตุปัจจัยของการสร้างสุข คำถามของแผนจึงต้องเริ่มจาก ระดับสุขของคนตรังเป็นอย่างไร จะเพิ่มความสุขชนิดไหน อย่างไร โดยใครร่วมมือกันบ้าง จะมีตัวระบุการบรรลุผลอย่างไร

การสร้างสุขทางกาย ต้องทำให้คนตรังต้องปลอดภัยจากภัยคุกคาม ความต้องการพื้นฐานที่ต้องการอยู่รอด ซึ่งมีตัวชี้วัดคือ อายุขัยของคนตรังจะต้องยืนยาว ไร้โรคคุกคาม โดยที่ปี 2564 คนตรังอายุขัยเฉลี่ย 79 ปี มีสาเหตุของการสิ้นอายุขัยจาก โรคมะเร็ง เป็นอันดับหนึ่ง โรคของหลอดเลือด และหัวใจเป็นอันดับต่อมา งานแรกที่ต้องทำเพื่อสร้างสุขในร่างกายให้คนตรังจึงเป็นเรื่องนี้

สำหรับที่อยู่อาศัย ซึ่งปัจจุบันตรังมีสมาชิกที่ต้องได้รับการดูแลเรื่องที่อยู่อาศัยร่วม 3,000 ราย ความมั่นคงทางอาหารที่ต้องมีเพียงพอสำหรับการดำรงชีพทั้งปริมาณ และคุณภาพ อาหารปลอดภัยคงเป็นประเด็นต้น ๆ ของสุขทางกายด้วย

คราวหน้า ผมจะนำเสนอ เส้นทางสร้างสุขทางร่างกายของเมืองตรัง เพื่อเราจะได้ร่วมไม้ร่วมมือกัน เพื่อการก้าวสู่เมื่อแห่งความสุขต่อไป…เมืองตรังสุขได้ ด้วยความร่วมมือกัน…

.

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

“ตรัง” สังคมแห่งความสุข (๑) โดย นพ.ไพศาล เกื้ออรุณ อดีตนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด และนักสันติวิธี

.

โยนิโสมนสิการ หนองบัวลำภู : นพ.ไพศาล เกื้ออรุณ อดีตนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด นักสันติวิธี อดีตคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์ฅนตรัง

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on pinterest
Pinterest

Social Media

Most Popular

Categories

“นครตรัง”จับมือ “ททท.” จัดงาน “NAKORNTRANG FOOD FIT FUN” กระตุ้นศก. สู่เมืองต้นแบบสุขภาวะ 19-21 ก.ค. ที่สวนทับเที่ยง

ตรัง-“นครตรัง”จับมือ “ททท.” จัดงาน “NAKORNTRANG FOOD FIT FUN” กระตุ้นศก. สู่เมืองต้นแบบสุขภาวะ 19-21 ก.ค. ที่สวนทับเที่ยง

สุดแปลก “คุกกี้กุ้งแห้ง” ถูกใจไม่เน้นหวาน แต่หอมอร่อย อดีตดีไซน์เนอร์สาวย้อนขนมความทรงจำวัยเด็ก หนุนประมงพื้นบ้าน เน้นขายออนไลน์

ตรัง-สุดแปลก “คุกกี้กุ้งแห้ง” ถูกใจสายไม่เน้นหวาน แต่หอมอร่อย อดีตดีไซน์เนอร์สาว ย้อนเมนูขนมความทรงจำในวัยเด็ก ทำจนได้รสชาติความอร่อยที่ลงตัว สนับสนุนประมงพื้นบ้าน เน้นขายออนไลน์ผ่านเพจ

ทัพนักกีฬาไทย-เทศ เรือนหมื่นร่วม “ตรังเกมส์” ครั้งที่ 25 มหกรรมกีฬารร.กีฬาแห่งประเทศไทย 20-29 ก.ค. ชูมาสคอต “พะยูน”

ตรัง-ทัพนักกีฬาไทย-เทศ เรือนหมื่นร่วม “ตรังเกมส์” ครั้งที่ 25 มหกรรมกีฬารร.กีฬาแห่งประเทศไทย ตรังพร้อมเปิดบ้านเป็นเจ้าภาพ 20-29 ก.ค. 19ชนิดกีฬา ชูมาสคอต “พะยูน” ชวนเชียร์ ชวนเที่ยวตรัง

ค้นหาหัวข้อข่าวที่คุณสนใจ

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors