.
.
ตรัง-“จระเข้” ชูนโยบายยั่งยืน จัดกิจกรรม “Jorakay Green Earth : พาหัวใจ สีเขียวไปร่วมปลูกป่า” ผนึก “กรมทช.” นำร่องปลูกป่าชายเลน 63.5 ไร่ ในจังหวัดตรัง ลุยสร้างคาร์บอนเครดิต-เปิดกลยุทธ์ 5SD สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน รองอธิบดีกรมทช. ดึงเอกชนปลูกป่าชายเลนสร้างคาร์บอนเครดิต นำที่ดินทวงคืนผืนป่ากลับมาฟื้นฟู ตั้งเป้าทั้งประเทศ 3 แสนไร่ ระยะ 10 ปี
.
เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2567 ที่แปลงปลูกป่าชายเลน บ้านทอนนาหมู และบ้านทอนในแสง อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง นายชิดชนก สุขมงคล รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.) เป็นประธานกิจกรรม “Jorakay Green Earth : พาหัวใจสีเขียวไปร่วมปลูกป่า” “นำร่องปลูกป่าชายเลนบนพื้นที่กว่า 63.5 ไร่ โดยมีนายสกุล ดํารงเกียรติกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง นายศุภพงษ์ เพชรสุทธิ์ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท จระเข้ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ในฐานะภาคเอกชนผู้สนับสนุนโครงการงบประมาณ 2 ล้านบาท พร้อมด้วยทีมผู้บริหาร พนักงานอาสา อาสาสมัครในพื้นที่ ร่วมปลูกต้น พังกาหัวสุมดอกแลง ต้นโกงกางใบเล็ก ต้นโกงกางใบใหญ่ และต้นฝาดดอกแดง รวมกว่า 45,000 ตัน พร้อมร่วมดูแลป่าชายเลนผืนดังกล่าวต่อเนื่องร่วมกับชุมชนเป็นระยะเวลา 10 ปี
.
ทั้งนี้ บริษัท จระเข้ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ตัวจริงนวัตกรรมเพื่องานก่อสร้างครบวงจรที่ใส่ใจคนและ ดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อความสุขของทุกคนในครอบครัว ลุยต่อนโยบายด้านความยั่งยืน ตั้งแต่ต้นทางสู่ปลายทาง ล่าสุดจัดกิจกรรม “Jorakay Green Earth : พาหัวใจสีเขียวไปร่วมปลูกป่า” “นำร่องปลูกป่าชายเลนบนพื้นที่กว่า 63.5 ไร่ ณ แปลงปลูกป่าชายเลน บ้านทอนนาหมู และบ้านทอนในแสง อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง จระเข้ดำเนินโครงการปลูกป่าชายเลนภายใต้การผนึกกำลังกับ กรมทช. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และภาคีเครือข่ายป่าชายเลนประเทศไทย โดย “จระเข้” เป็นหนึ่งใน 33 องค์กรในภาคีที่ลงนามบันทึกความร่วมมือเพื่อฟื้นฟูธรรมชาติ-สร้างคาร์บอนเครดิตผ่านโครงการปลูกป่าชายเลนในหลากหลายพื้นที่ทั่วประเทศ คาดผืนป่าขนาด 63.5 ไร่ จะช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 600 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ตลอดระยะเวลา 10 ปี
.
.
โดยกิจกรรม “Jorakay Green Earth : พาหัวใจสีเขียวไปร่วมปลูกป่า” สะท้อนการสานต่อนโยบายด้านความยั่งยืนแบบครบวงจรของจระเข้ โดยก่อนหน้านี้ บริษัทได้เขย่าวงการก่อสร้างครั้งใหญ่ด้วยการเปิดตัว Jorakay Green Pack นวัตกรรมถุงกาวซีเมนต์โฉมใหม่ฉบับ รักษ์โลกซึ่งใช้วัสดุรีไซเคิลถึง 70% และลดความหนาของพลาสติกลง 60% พร้อมลดการใช้หมึกบนฉลากสินค้า ซึ่งบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่ ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิตได้มากถึง 49% ตาม แนวทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน 5 ข้อ ให้ความสำคัญกับการสร้างธุรกิจที่ยั่งยืนตั้งแต่กระบวนการผลิตสินค้าต้นทางจนถึงปลายทาง
.
.
นายศุภพงษ์ เพชรสุทธิ์ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท จระเข้ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เผยว่า “กิจกรรม Jorakay Green Earth เป็นอีกหนึ่งหมุดหมายสำคัญของจระเข้บนเส้นทางการสร้างธุรกิจที่ยั่งยืนควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อมในทุกมิติ เราตระหนักถึงคุณค่าของป่าชายเลนต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่เป็นทั้งแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของสัตว์หลายชนิด สร้างความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) ให้กับระบบนิเวศ ช่วยดูดซับคาร์บอนออกจากบรรยากาศ นอกจากนี้ดินชุ่มน้ำในป่าชายเลน ยังช่วยกักเก็บคาร์บอนได้เป็นอย่างดี ซึ่งเราเล็งเห็นว่าเป็นโอกาสดีในการส่งเสริมให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมช่วยโลกได้ และได้ร่วมมือกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นหนึ่งในภาคีเครือข่ายป่าชายเลนประเทศไทย เพื่อนำร่องปลูกป่าชายเลนบนพื้นที่กว่า 63.5 ไร่ ร่วมกับพนักงานจิตอาสาและพี่น้อง ชาวจังหวัดตรัง พร้อมสนับสนุนงบประมาณให้แก่ชุมชนในการร่วมดูแลรักษาป่าชายเลนผืนนี้ต่อเนื่องเป็นเวลา 10 ปี มุ่งเพิ่มพื้นที่สี เขียวและสร้างระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ในระยะยาว
.
ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท จระเข้ คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวอีกว่า โครงการปลูกและดูแลป่าชายเลนครั้งนี้ สะท้อนความพร้อมขอบจระเข้ในการสร้างคาร์บอนเครดิตและมุ่งสู่องค์กรที่เป็นกลางทางดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่ต้นน้ำ ได้แก่ กระบวนการผลิต เราเลือกใช้วัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น Jorakay Green Pack นวัตกรรมถุงกาวซีเมนต์รักษ์โลก ไปจนถึงปลายน้ำ คือการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่เปี่ยมนวัตกรรมที่ปลอดภัยต่อผู้ใช้งานและ สิ่งแวดล้อม และจระเข้ เผยเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 5 ข้อ ซึ่งเป็นแนวทางเพื่อการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สร้างความสุขให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียว และสร้างสมดุลในการอยู่ร่วมกัน ได้แก่ 1. ลดการปล่อย CO2 ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการผลิตและการดำเนินงานทั้งหมด เพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อน 2. ลดปริมาณขยะและของเสีย จัดการขยะและของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการรีไซเคิลขยะ 3. ลดการใช้สารพิษ รวมถึงเสาะหาทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงานและชุมชน 4. เพิ่มสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ 5. สนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิต การศึกษา สุขอนามัย และสิ่งแวดล้อม
.
.
ด้านนายชิดชนก สุขมงคล รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.) กล่าวว่า สืบเนื่องจากกรมทช.รับผิดชอบพื้นที่ชายทะเล ชายหาด และป่าชายเลนทั้งหมดของประเทศไทย โดยที่ผ่านมารัฐบาลมีมาตรการทวงคืนผืนป่าจากผู้ที่เข้าไปทำกินปิดกฎหมายมาได้ และนำกลับมาฟื้นฟูระบบนิเวศป่าชายเลนที่มีความสำคัญ ปัจจุบันเราได้ปรับกุลยุทธ์ในการฟื้นฟูระบบนิเวศด้วยการปลูกป่าโดยการดึงภาคส่วนที่ไม่ใช่ภาคราชการ โดยเฉพาะภาคเอกชนและชุมชนในพื้นที่เข้ามีส่วนร่วมในการปลูก และบำรุงดูแล รวมทั้งการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลนทั้งทางตรงและทางอ้อม ในเรื่องการอนุบาลและขยายพันธุ์สัตว์น้ำ ซึ่งที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ทั้งนี้ กรมทช.ได้ทำโครงการปลูกป่าเพื่อใช้ประโยชน์จากคาร์บอนเครดิตในพื้นที่ป่าชายเลน ระยะ 10ปี ตั้งแต่ปี 2565-2574 พื้นที่เป้าหมาย 3 แสนไร่ทั่วประเทศ สำหรับจังหวัดตรังก็ได้เริ่มดำเนินการในครั้งนี้ 63 ไร่ จากพื้นที่ป่าชายเลนที่มีทั้งหมด 2.8 หมื่นไร่ ภายใต้ความร่วมมือเป็นอย่างดีจากบริษัทจระเข้ฯ และทางจังหวัดตรัง
.
ภาพกิจกรรม