‘ก้าววิ่งกินแตงโมเกาะสุกร ปี 4’ งานเล็กๆ บนเกาะเล็กๆ ของตรัง แต่ยิ่งใหญ่…!!!

เมื่อไม่กี่ปีมานี้ เกาะสุกรได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดตรัง แม้หาดทรายจะสวยสู้หาดมีชื่อที่อื่นๆ ไม่ได้ แต่นักท่องเที่ยวที่มาที่นี่จะบอกตรงกันว่า ชอบ ‘ความเป็นเกาะสุกร’ นั่นคือ ชอบอัธยาศัยดีๆ เป็นกันเองของผู้คนที่นี่ ชอบวิถีชีวิตเรียบง่ายของคนเกาะ ไม่ว่าที่ได้พบเห็นจากการทำนา การประมง การปลูกแตงโม แม้แต่ควายและวัวทะเลที่ชาวบ้านปล่อยให้หากินกันเองอย่างอิสระในช่วงสิ้นหน้านาก็เป็นที่ชื่นชอบของคนเดินทาง

.

บก.วานิช สุนทรนนท์ รายงาน


สำหรับกิจกรรมก้าววิ่งฯ ท้องถิ่นที่นี่เป็นผู้จัดการกันเองแบบเรียบๆ ง่ายๆ ตลอดมา ปีแรกและสองปีต่อมาใน พ.ศ.2562 และ 2563(เพิ่งเว้นปี 2564 ที่โควิด-19 กลับมาระบาดมากขึ้น)จะแบ่งการเดินวิ่งออกเป็นสองประเภท คือ ระยะทาง 7 กับ 14 กิโลเมตรและลงรายละเอียดด้วยการแบ่งเป็นเพศหญิงกับเพศชายไปตามระดับอายุ เพิ่งมาปีนี้เป็นปีแรกที่ผู้จัดได้รวบให้เหลือเพียงประเภทเดียวคือ ประเภททั่วไป ระยะทาง 5 กิโลเมตร

เกาะสุกร หรือ เกาะหมู อ.ปะเหลียน จ.ตรัง (ภาพมุมสูงโดย วานิช สุนทรนนท์)

.

เกาะสุกร หรือชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า ‘เกาะหมู’ ทุกวันนี้ไม่มีหมูสักตัว ที่สำคัญพื้นที่ทั้งหมดเป็นที่อยู่อาศัยของคนไทยมุสลิมเกือบจะร้อยเปอร์เซ็นต์

แม้จะเป็นเกาะเล็กๆ แต่ก็มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของบรรดาเกาะในจังหวัดตรัง จะเป็นรองก็แต่เกาะลิบงที่ตั้งอยู่ไม่ไกลกันมากนัก

เกาะที่นี่มีแค่ 4 หมู่บ้าน ประชากรก็มีราวๆ 3,000 คน อาชีพส่วนใหญ่เป็นชาวสวนยางพารา ประมง การทำนา การปลูกแตงโมและการเปิดร้านค้าขายของเล็กๆ น้อยๆ

ชายหาดเกาะสุกรเป็นทรายสีเข้ม เพราะความอุดมสมบูรณ์ ภาพด้านล่างคือสะพานท่าเรือบ้านแหลม

.

เกาะสุกร เป็นเกาะที่มีการทำนา

.

เมื่อไม่กี่ปีมานี้ เกาะสุกรได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดตรัง แม้หาดทรายจะสวยสู้หาดมีชื่อที่อื่นๆ ไม่ได้ แต่นักท่องเที่ยวที่มาที่นี่จะบอกตรงกันว่า ชอบ ‘ความเป็นเกาะสุกร’ นั่นคือ ชอบอัธยาศัยดีๆ เป็นกันเองของผู้คนที่นี่ ชอบวิถีชีวิตเรียบง่ายของคนเกาะ ไม่ว่าที่ได้พบเห็นจากการทำนา การประมง การปลูกแตงโม แม้แต่ควายและวัวทะเลที่ชาวบ้านปล่อยให้หากินกันเองอย่างอิสระในช่วงสิ้นหน้านาก็เป็นที่ชื่นชอบของคนเดินทาง

นาบนเกาะสุกร หากโชคดีจะได้พบฝูงควายลงเล่นน้ำทะเลคลายร้อนในยามเย็น

.

ควายทะเลเกาะสุกร

.

เมื่อกระแสการออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานและการเดินวิ่งเกิดขึ้นทั่วประเทศ มีนักเดินทางจำนวนมากมาเกาะสุกรด้วยการนำจักรยานลงเรือมาปั่นไปทั่วๆ เกาะด้วย หรือปีละครั้งหรือสองปีครั้งที่ชมรมจักรยานจังหวัดตรังจะชวนนักปั่นหลายๆ ร้อยคันปั่นจักรยานจากตัวเมืองมาลงเรือแล้วตระเวนไปทั่วๆ เกาะ

สำหรับการเดินวิ่งบนเกาะสุกร มีขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2561 โดยใช้ชื่อกิจกรรมว่า ‘ก้าววิ่งกินแตงโม’ เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกาย ส่งเสริมการท่องเที่ยวและแนะนำแตงโมรสชาติดีของที่นี่ให้ได้รู้จักกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น

แตงโมเกาะสุกร

.

พูดถึงสายพันธุ์ของแตงโมที่นำมาปลูกที่เกาะก็เป็นสายพันธุ์ทั่วๆ ไป แต่แตกต่างที่พื้นที่หรือเนื้อดินของการปลูก ดินที่นี่เป็นดินร่วนปนทรายตรงใกล้ๆ ชายหาด(ที่ต่อมามีการตั้งชื่อว่า ‘หาดแตงโม’) แตงโมที่นี่จึงมีรสชาติหวานกรอบอร่อยจนเป็นที่ยอมรับเป็นอันดับต้นๆ ของภาคใต้ ปีต่อๆ มาจึงมีการขยายพื้นที่ไปบนคันนาในการปลูกรุ่นแรกของปี เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วเจ้าของที่ก็จะรีบปรับที่เพื่อปลูกแตงโมรุ่นสองทันที

สำหรับกิจกรรมก้าววิ่งฯ ท้องถิ่นที่นี่เป็นผู้จัดการกันเองแบบเรียบๆ ง่ายๆ ตลอดมา ปีแรกและสองปีต่อมาใน พ.ศ.2562 และ 2563(เพิ่งเว้นปี 2564 ที่โควิด-19 กลับมาระบาดมากขึ้น)จะแบ่งการเดินวิ่งออกเป็นสองประเภท คือ ระยะทาง 7 กับ 14 กิโลเมตรและลงรายละเอียดด้วยการแบ่งเป็นเพศหญิงกับเพศชายไปตามระดับอายุ เพิ่งมาปีนี้เป็นปีแรกที่ผู้จัดได้รวบให้เหลือเพียงประเภทเดียวคือ ประเภททั่วไป ระยะทาง 5 กิโลเมตร

กิจกรรม ‘ก้าววิ่งกินแตงโม – วิ่งด้วยใจให้ด้วยรัก – เกาะสุกรมีดี – Run for DEK LE’ (ชื่อยาวเนาะ ส่วนคำว่า DEK LE หมายถึง ‘เด็กเล’ นะครับ) ประจำปีนี้จัดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม ที่ผ่านมา

กิจกรรม ‘ก้าววิ่งกินแตงโม – วิ่งด้วยใจให้ด้วยรัก – เกาะสุกรมีดี – Run for DEK LE’

.

จากการติดตามความเคลื่อนไหวก่อนถึงวันเดินวิ่งจริงๆ ทราบว่า มีผู้สมัครทั้งที่เป็นชาวเกาะด้วยกันเองและจากหลายๆ จังหวัดเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า 1,100 คน แต่เมื่อถึงกำหนดวันเดินทางมีหลายคนที่ติดภารกิจกระทันหัน รวมทั้งมีพยากรณ์อากาศว่าฝนจะตกหนัก คลื่นลมอาจจะแรง ทำให้ผู้สมัครถอนตัวไปจำนวนหนึ่ง จึงมีผู้เข้าร่วมรายการเดินวิ่งครั้งนี้จริงๆ ร่วมๆ 1,000 คนเท่านั้น

หัวรุ่งของวันนั้นฝนยังคงตกปริบๆ ปรอยๆ ตลอดเวลาแต่ไม่มีใครหวั่นไหวอะไรอีกแล้ว เวลาตี 5 ครึ่งทุกคนจึงไปรวมตัวกันที่ริมเขื่อนกั้นคลื่นบ้านทุ่ง พลันที่ได้เวลา 6 โมงนักวิ่งก็เริ่มทะยานออกจากจุดสตาร์ทริมทะเลด้วยความคึกคักยิ่ง

พิธีกรงาน

.

ระยะทางของเช้าวันนั้นทุกคนจะวิ่งและเดินผ่านริมทะเล สวนมะพร้าว ที่สำคัญที่สุดคือผ่านทุ่งนาที่กำลังออกรวงเหลืองๆ รอวันเก็บเกี่ยวและส่งกลิ่นหอมกระจายไปทั่วทุ่ง(ที่นี่ชาวบ้านจะปลูกเป็นพันธุ์ข้าวเบาใช้เวลาแค่ 4 เดือนก็เก็บเกี่ยวได้แล้ว)

แตงโมกรอบหวานฉ่ำ เกาะสุกร

.

การเดินวิ่งที่อื่น ผู้จัดอาจจะจัดจุดให้น้ำเป็นระยะๆ แต่ที่นี่ไม่ได้มีเฉพาะน้ำดื่ม แต่มีแตงโมสีแดงๆ ชิ้นเล็กๆ พอดีคำวางไว้ทุกๆ จุดด้วย ซึ่งคนที่ตั้งใจวิ่งจริงๆ จังๆ ก็ไม่ค่อยให้ความสนใจกับแตงโมมากนัก ต่างจากสายเดินที่จะชอบมากกว่า

เมื่อกลับเข้าสู่เส้นชัย ที่อื่นๆ อาจจะมอบเหรียญรางวัลเสร็จแล้วทุกคนก็จะแยกย้ายกันกลับบ้าน แต่ที่เกาะสุกรยังมีแตงโมหวานกรอบให้ชิมต่อไปอย่างไม่จำกัด ใครสนใจจะซื้อกลับบ้านก็จะมีแตงโมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนนำมาบรรจุกล่องขายให้ แต่เท่าที่สังเกตน่าจะขายได้ไม่มากนักเพราะอีกหนึ่งไฮไลต์ของงานนี้ก็คือผู้จัดได้แจกแตงโมให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมนำกลับบ้านคนละหนึ่งลูกด้วย

ชมภาพ

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on pinterest
Pinterest

Social Media

Most Popular

Categories

“นครตรัง”จับมือ “ททท.” จัดงาน “NAKORNTRANG FOOD FIT FUN” กระตุ้นศก. สู่เมืองต้นแบบสุขภาวะ 19-21 ก.ค. ที่สวนทับเที่ยง

ตรัง-“นครตรัง”จับมือ “ททท.” จัดงาน “NAKORNTRANG FOOD FIT FUN” กระตุ้นศก. สู่เมืองต้นแบบสุขภาวะ 19-21 ก.ค. ที่สวนทับเที่ยง

สุดแปลก “คุกกี้กุ้งแห้ง” ถูกใจไม่เน้นหวาน แต่หอมอร่อย อดีตดีไซน์เนอร์สาวย้อนขนมความทรงจำวัยเด็ก หนุนประมงพื้นบ้าน เน้นขายออนไลน์

ตรัง-สุดแปลก “คุกกี้กุ้งแห้ง” ถูกใจสายไม่เน้นหวาน แต่หอมอร่อย อดีตดีไซน์เนอร์สาว ย้อนเมนูขนมความทรงจำในวัยเด็ก ทำจนได้รสชาติความอร่อยที่ลงตัว สนับสนุนประมงพื้นบ้าน เน้นขายออนไลน์ผ่านเพจ

ทัพนักกีฬาไทย-เทศ เรือนหมื่นร่วม “ตรังเกมส์” ครั้งที่ 25 มหกรรมกีฬารร.กีฬาแห่งประเทศไทย 20-29 ก.ค. ชูมาสคอต “พะยูน”

ตรัง-ทัพนักกีฬาไทย-เทศ เรือนหมื่นร่วม “ตรังเกมส์” ครั้งที่ 25 มหกรรมกีฬารร.กีฬาแห่งประเทศไทย ตรังพร้อมเปิดบ้านเป็นเจ้าภาพ 20-29 ก.ค. 19ชนิดกีฬา ชูมาสคอต “พะยูน” ชวนเชียร์ ชวนเที่ยวตรัง

ค้นหาหัวข้อข่าวที่คุณสนใจ

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors