โยนิโสมนสิการ หนองบัวลำภู : นพ.ไพศาล เกื้ออรุณ อดีตนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด นักสันติวิธี อดีตคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์ฅนตรัง

บทเรียนที่เกิดขึ้น เพียงพอหรือยังที่จะดำเนินการปกป้องสังคม ให้สมาชิกของสังคมสามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ ความสุขขั้นต้นควรได้รับการสนองตอบเสียที การคิดตรึกตรองแบบโยนิโสมนสิการควรเกิดขึ้น เมื่อทราบเหตุที่แท้จริงแล้ว ควรนำมาเปิดเผยสานเสวนา ร่วมมือกันแก้ไข


“บทเรียนที่เกิดขึ้น เพียงพอหรือยังที่จะดำเนินการปกป้องสังคม ให้สมาชิกของสังคมสามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ ความสุขขั้นต้นควรได้รับการสนองตอบเสียที การคิดตรึกตรองแบบโยนิโสมนสิการควรเกิดขึ้น เมื่อทราบเหตุที่แท้จริงแล้ว ควรนำมาเปิดเผยสานเสวนา ร่วมมือกันแก้ไข สื่อมวลชนควรเลิกทำพฤติกรรมหากินกับเหยื่อ เมื่อเรื่องเงียบแล้ว ก็ดำเนินการหาเหยื่อใหม่ หากแต่ควรติดตามอย่างผู้ร่วมรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะ ฐานันดรสี่ อย่างมีความสำนึก

นพ.ไพศาล เกื้ออรุณ อดีตนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด นักสันติวิธี
นพ.ไพศาล เกื้ออรุณ อดีตนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด นักสันติวิธี อดีตคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์ฅนตรัง

.

6 ตุลาคม 2565 เกิดการฆ่าหมู่ที่หนองบัวลำพูร่วม 40 ศพ ที่จังหวัดหนองบัวลำภู ตรงกับวันครบ 46 ปีของการฆ่าหมู่ที่กรุงเทพฯ ครั้งนั้น ผู้ฆ่ามีเป้าหมายชัดเจน ภายใต้ลีลาการฆ่าที่คลุมเครือ ครั้งนี้วิธีการฆ่าตรงไปตรงมา แต่สาเหตุการฆ่าน่าสงสัยยิ่ง

เหตุการณ์การฆ่าหมู่แบบคราวนี้ เคยเกิดมาแล้วหลายครั้ง เมื่อ 6 ตุลาคม 2519 ฆ่าเพื่อแย่งชิงอำนาจกัน ส่วนการฆ่าหมู่ที่โคราช เมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2563 ความชัดแจ้งของสาเหตุไม่มี ทั้งที่นักอาชญาวิทยาได้เสนอให้ศึกษา แล้วนำมาแก้ไขอย่างจริงจัง แต่เงียบสงัดวังเวงยิ่งนัก

สังคมคงมีคำถามว่า เหตุการณ์แบบนี้จะเกิดอีกหรือไม่ ผมคงตอบโดยอิงกรณีตัวอย่าง และข้อเท็จจริงเท่าที่เข้าถึงว่า มีแน่ ๆ เพราะเหตุปัจจัยเดิมยังคงมีอยู่ ฉะนั้นผลจึงต้องเกิด การศึกษาตรึกตรองถึงรากเหง้าของปัญหาอย่างจริงจัง คงเป็นกระแสสักพัก แล้วคงเงียบหายไปดุจเดิม

นักจิตวิทยาบางคนเชื่อว่า การกระทำของฆาตกรเกิดจากพยาธิสภาพทางจิตของเขา เขาไม่ได้กลัวโทษทัณฑ์ ไม่กลัวการถูกลงโทษ ไม่กลัวการประณาม เพราะเขาไม่คิดว่า การกระทำของเขาผิดแต่อย่างใด ถามว่า คนที่เป็นเช่นนี้มีอีกหรือไม่ คำตอบคือ น่าจะมีอีก แล้วถามต่อไปว่า เขาเหล่านั้นจะก่อเหตุอีกหรือไม่ ตอบว่า หากมีเหตุปัจจัยเดิมเอื้อให้กระทำ เหตุการณ์แบบนี้ย่อมเกิดขึ้นอีกอย่างแน่นอน

สังคมควรรับมือเรื่องนี้อย่างไร คำตอบคงเป็นดุจเดียวกับนักอาชญาวิทยาเคยเสนอว่า ควรศึกษาถึงเหตุนี้อย่างจริงจัง เมื่อได้สาเหตุแล้วควรนำสู่การแก้ไขอย่างจริงจัง

ปัญหาคือ เมื่อเวลาผ่านไปสักพัก สิ่งที่คิดจะแก้ ก็ถูกลืม จนกว่าจะเกิดเหตุซ้ำ เสียงเพรียกหาหนทางแก้ จึงจะเกิดขึ้นอีกครา ผมจึงกล้าพยากรณ์ว่า ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งสุดท้าย เว้นแต่จะลงมือทำอย่างจริงจัง

“บทเรียนที่เกิดขึ้น เพียงพอหรือยังที่จะดำเนินการปกป้องสังคม ให้สมาชิกของสังคมสามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ ความสุขขั้นต้นควรได้รับการสนองตอบเสียที”

“การคิดตรึกตรองแบบโยนิโสมนสิการควรเกิดขึ้น เมื่อทราบเหตุที่แท้จริงแล้ว ควรนำมาเปิดเผยสานเสวนา ร่วมมือกันแก้ไข สื่อมวลชนควรเลิกทำพฤติกรรมหากินกับเหยื่อ เมื่อเรื่องเงียบแล้ว ก็ดำเนินการหาเหยื่อใหม่ หากแต่ควรติดตามอย่างผู้ร่วมรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะ ฐานันดรสี่ อย่างมีความสำนึก”

การดำเนินการอย่างจริงจังเกาะติด แม้ไม่ต้องถึงขนาดการสาดเททรัพยากรอย่างบ้าคลั่ง แบบปัญหาโควิด 19 การจัดการความสุขขั้นพื้นฐานของเพื่อนร่วมสังคม ควรกระทำอย่างจริงจังเสียที จุติดวงวิญญาณที่เกิดจากการสูญเสีย จะได้มีโอกาส สาธุการ กับการดูแลสังคมในทางที่เหมาะที่ควรเสียที…

ข้อมูลเสริม

การเจริญปัญญาโดยการคิดแบบโยนิโสมนสิการ หมายถึง การคิดพิจารณาอย่างละเอียด ถี่ถ้วนและลึกซึ้ง หรือการคิดที่ถูกวิธี มีระเบียบและสร้างสรรค์ มี 10 วิธีดังนี้

1. วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย คือ คิดแบบมีเหตุผล เช่น พิจารณาว่าที่เป็นสุข หรือเป็นทุกข์นี้ เกิดขึ้นโดยมีอะไรเป็นปัจจัย ต้นเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากอะไร

2. วิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ คือ การคิดจำแนกแยกแยะองค์รวมของสิ่งต่างๆ ออกเป็นองค์ย่อย ทำให้มองเห็นความสัมพันธ์ขององค์ประกอบย่อยเหล่านั้นว่ามีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างไร

3. วิธีแบบสามัญลักษณะ คือ คิดแบบไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) คือคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา ชีวิตของคนเราก็เป็นเช่นนี้เอง เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงแท้ เป็นทุกขัง มีแต่ความทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่มีตัวตนที่แน่นอน

4. วิธีคิดแบบอริยสัจ คือ การพิจารณาปัญหาว่าคืออะไร (ทุกข์) มีอะไรเป็นสาเหตุ (สมุทัย) เป้าหมายของการแก้ปัญหาคืออะไร (นิโรธ) หนทางเพื่อบรรลุเป้าหมายเป็นอย่างไร (มรรค)

5. วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ คือ การคิดแบบสัตบุรุษอันเป็นคุณสมบัติของคนดี คือ คิดตามหลักการและความมุ่งหมาย รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักบุคคล รู้จักชุมชน

6. วิธีคิดแบบเห็นคุณเห็นโทษและเห็นทางออก คือ มองในเชิงคุณค่าว่าสิ่งนั้นๆ มีคุณในแง่ไหน มีโทษในด้านใด แล้วก็พิจารณาหาทางออก

7. คิดแบบคุณค่าแท้และคุณค่าเทียม คือ รู้จักแยกแยะสิ่งดีสิ่งชั่ว สิ่งแท้จริงสิ่งปลอมอย่างมีเหตุผล

8. วิธีคิดแบบปลุกเร้าคุณธรรม คือ คิดหาประโยชน์ในการกระตุ้น และส่งเสริมความดี

9. วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบัน คือ คิดอยู่ในปัจจุบัน ไม่รำพึงถึงอดีต และไม่กังวลถึงอนาคต

10. วิธีคิดแบบวิภัชชวาท คือ คิดแบบรอบด้าน แยกแยะ มองสิ่งต่างๆ ในหลายๆ มุมมองอย่างละเอียดรอบคอบ

การคิดแบบโยนิโสมนสิการทั้ง 10 ข้อที่กล่าวมา สรุปได้ว่า คือการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล และคิดเพื่อให้เกิดการกระทำที่เป็นกุศล

.

อ่านบทความ พบหมอไพศาล

“ตรัง” สังคมแห่งความสุข (๑) โดย นพ.ไพศาล เกื้ออรุณ อดีตนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด และนักสันติวิธี

https://trangtoday.net/2022/09/1024/

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on pinterest
Pinterest

Social Media

Most Popular

Categories

เปิดใจ “บิ๊กเหน่-เสน่ห์ ทองศักดิ์” ปธ.เมืองตรัง ยูไนเต็ด “เดอะแมนบีฮายด์” 3 ปีพุ่งทะยาน “วิถี สุพิทักษ์” นักธุรกิจดัง ชมมาถูกทาง กระแสบอลตรังพุ่งรอบ 10 ปี

ตรัง-วงการลูกหนังตรัง คืนชีพในรอบ 10 ปี หลัง “อาชาอันดามัน เมืองตรัง ยูไนเต็ด” เปิดบ้าน “เมืองตรัง สเตเดี้ยม” ล้มยักษ์ “กิเลนผยอง เมืองทอง ยูไนเต็ด” ลอยลำเข้ารอบ 16 ทีมสุดท้ายบอลถ้วย “รีโว่คัพ” เปิดใจ “บิ๊กเหน่-เสน่ห์ ทองศักดิ์” ปธ.สโมสร “เดอะแมนบีฮายด์” 3 ปีพัฒนาการพุ่งทะยาน สู่ฝันยกระดับบอลอาชีพให้คนตรัง เงินสะพัดหลักล้านต่อแมตซ์ ด้าน “วิถี สุพิทักษ์” นักธุรกิจดังเกาะติดตามเชียร์เกือบทุกสนาม เอ่ยปากชมมาถูกทาง กระแสบอลตรังพุ่งรอบ 10 ปี พร้อมทุ่มการสนับสนุน ดีใจเมืองห้วยยอดกลับมาคึกคักอีกครั้ง

“Wander & Sip” ชวนมาจิบ มาชิม เที่ยวส่งท้ายฤดูฝนไปกับบรรยากาศแคมป์ปิ้งดนตรีชิลล์ ใกล้เมืองตรัง พร้อมกิจกรรม DIY 27-29 ก.ย.นี้

ตรัง-ชวนเที่ยวส่งท้ายฤดูฝนแบบชิลล์ๆ กับงาน “Wander & Sip ชวนมาจิบ มาชิม” สัมผัสบรรยากาศสุดคูลในธีมแคมป์ปิ้งใกล้เมืองตรัง พร้อมการแสดงดนตรีสดสบายๆ เน้นแนวคิด Eco-friendly เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ส่งเสริมการท่องเที่ยวช่วงปลายฤดูฝน ภายในงานมีร้านอาหาร เครื่องดื่ม และกิจกรรม DIY จากผู้ประกอบการท้องถิ่นกว่า 15 ร้าน 27-29 กันยายนนี้

“ม.อ.” จับมือ “หัวเว่ย” เปิดตัวศูนย์นวัตกรรมฯ ICT แห่งแรกล้ำสมัยสุดในเอเชียแปซิฟิกที่ม.อ.ตรัง ถ่ายทอดองค์ความรู้ขั้นสูงระดับโลกด้าน ICT-ดิจิทัล

ตรัง-“ม.อ.” จับมือ “หัวเว่ย” เปิดตัวศูนย์นวัตกรรมฯ ICT แห่งแรกล้ำสมัยสุดในเอเชียแปซิฟิก ถ่ายทอดองค์ความรู้ขั้นสูงระดับโลก ICT-ดิจิทัล ด้าน “อธิการ” เชิญชวนสถาบันการศึกษา-ผู้สนใจใช้บริการ ผ่านหลักสูตรรับใบรับรอง ตั้งเป้าพัฒนาคน-นศ.สู่ตลาดงาน ขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านในโลกดิจิทัล สอดรับผลจัดอันดับที่ 1 มหาลัยอิเล็กทรอนิกส์ภาคใต้

ค้นหาหัวข้อข่าวที่คุณสนใจ

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors