ถอดบทเรียน‘พังงาแห่งความสุข’ ยุติบรรยากาศเผชิญหน้า พัฒนาจังหวัดตามการมีส่วนร่วมประชาชน

สช. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “พังงา” พื้นที่รูปธรรมการในการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ผ่านกระบวนการ “สมัชชาพังงาแห่งความสุข” เปิดพื้นที่กลางเคลียร์ข้อพิพาท ลดบรรยากาศการเผชิญหน้าภาครัฐ สร้างอำนาจการต่อรองให้ปชช. พลิกฟื้น “ชุมชนบ้านรมณีย์” จากปัญหาหนี้สิน สู่การจัดการตนเองเพื่อปลดหนี้ ยกระดับสู่การตั้งกองทุน-สร้างอาชีพ อย่างยั่งยืน


“สิ่งเหล่านี้ทำให้เราเรียนรู้ว่า วิธีการต่อสู้ของภาคประชาชนไม่จำเป็นต้องประท้วงอย่างเดียว แต่เมื่อเรามีแนวทางที่เป็นความต้องการคนในพื้นที่ มีข้อมูล มีแผนที่ชัดเจน สุดท้ายผู้ว่าฯก็ให้การยอมรับแผนพัฒนาจังหวัด ซึ่งเป็นแผนงานที่คนพังงาร่วมกันวิเคราะห์และเสนอความต้องการของตน สู่การกำหนดทิศทางการพัฒนาบ้านเมืองที่ตัวเองรัก ไม่ใช่แผนงานที่คิดจากข้าราชการที่ทำงานสนองตอบนโยบายที่ถูกกำหนดมาจากบุคคลภายนอก”

นายไมตรี จงไกรจักร์ ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนไท

เมื่อเร็วๆนี้ ที่บ่อน้ำพุร้อนรมณีย์ อ.กะปง จ.พังงา สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดกิจกรรม “เขียนกติกาชุมชน เขียนนโยบายประชาชน เขียนอนาคตของตัวเอง” เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการจัดการตนเอง ตลอดจนการสร้างความเข้มแข็งของชาวพังงาผ่านกระบวนการ “สมัชชาพังงาแห่งความสุข” พร้อมทั้งเยี่ยมชมรูปธรรมความสำเร็จของ สถาบันการเงินชุมชนบ้านรมณีย์ อ.กะปง จ.พังงา ซึ่งเป็นต้นแบบของการแก้ปัญหาวิกฤตทางการเงิน หนี้สิน ที่ดำเนินการมาอย่างยั่งยืนเกือบ 20 ปี

นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า จ.พังงา เป็นพื้นที่รูปธรรมที่แสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งของเครือข่ายภาคประชาชนที่ลุกขึ้นมากำหนดนโยบายและออกแบบทิศทางการพัฒนาของจังหวัด โดยมีการพัฒนาต่อยอดกลไกและเครื่องมือจากทุกภาคส่วน จนสามารถสร้างเครื่องมือที่เป็นแบบฉบับของตัวเองขึ้นมา คือ สมัชชาพังงาแห่งความสุข และมีการวางจังหวะขับเคลื่อนงานที่เกิดจากฉันทมติในสมัชชาพังงาแห่งความสุขจนเกิดเป็นรูปธรรม ในส่วนของ สช. ในฐานะองค์กรสานพลังที่จัดตั้งขึ้นภายใต้ พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 มีเครื่องมือการทำงานเพื่อสร้างสมดุลการพัฒนา คลี่คลายความขัดแย้ง ที่ทุกภาคส่วนสามารถหยิบยกไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ได้ โดยเครื่องมือเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการสมัชชาสุขภาพ ธรรมนูญสุขภาพ การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (HIA) ฯลฯ ได้ผ่านการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการแสวงหาความร่วมมือในบรรยากาศกัลยาณมิตรได้อย่างแท้จริง

นายไมตรี จงไกรจักร์ ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนไท

นายไมตรี จงไกรจักร์ ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนไท เปิดเผยในเวทีเสวนา “พังงาแห่งความสุข : ขับเคลื่อนจังหวัดด้วยนโยบายประชาชน” ตอนหนึ่งว่า ในอดีต จ.พังงา มีปัญหาหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ดิน ยาเสพติด สุขภาพ หนี้สินครัวเรือน ฯลฯ โดยขณะนั้นภาคประชาสังคมที่เข้ามาทำงานในพื้นที่ จ.พังงา มีความสัมพันธ์ระหว่างกันที่ดี แต่การทำงานกลับยังแยกส่วนต่างคนต่างทำ ขาดระบบการเชื่อมโยงที่ชัดเจน ที่สำคัญคือไม่ได้ทำงานโดยใช้โจทย์จากพื้นที่เป็นตัวตั้ง สุดท้ายแล้วก็ไม่เกิดความยั่งยืน จุดเปลี่ยนสำคัญของการรวมพลังภาคประชาชนใน จ.พังงา เกิดขึ้นช่วงปี 2547 หลังเหตุการณ์สึนามิ โดยขณะนั้นมีปัญหารุมเร้าหลากหลายเรื่อง ทั้งการช่วยเหลือผู้ประสบภัย งานด้านที่อยู่อาศัย รวมไปถึงสิทธิชุมชนต่างๆ จึงเกิดกระบวนการทำข้อมูล จัดตั้งพื้นที่กลางเพื่อแลกเปลี่ยนขับเคลื่อนภารกิจร่วมกัน จนในปี 2552 ได้เกิดการหลอมรวมความเป็นทีม และค้นหาเป้าหมายการทำงานร่วมกันบนวาทกรรม “พังงาแห่งความสุข” ซึ่งมีที่มาจากผลสำรวจในช่วงดังกล่าว ที่พบว่าพังงาเป็นจังหวัดที่ครองแชมป์ความสุขมากที่สุดต่อเนื่องกัน 2 ปี

นายไมตรีกล่าวต่อว่า กระทั่งปี 2556 มีการจัด “สมัชชาพังงาแห่งความสุข” ขึ้นเป็นครั้งแรก เป็นพื้นที่กลางที่ชักชวนทุกภาคส่วนเข้ามาออกแบบอนาคตและภาพฝัน จ.พังงาร่วมกัน และได้เชิญ ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา เข้ามาร่วมเพื่อให้รับทราบถึงความต้องการประชาชน จากนั้นมีการต่อยอดไปสู่การร่างยุทธศาสตร์ 10 ข้อ และถูกหลอมรวมเข้าไปเป็น “แผนพัฒนาของจังหวัดพังงา” ในเวลาต่อมา ที่ผ่านมา จ.พังงา มีเครื่องมือการทำงานและกลไกการทำงานที่หลากหลาย ซึ่ง จ.พังงา ก็ได้นำหลักการของทุกเครื่องมือและทุกกลไกมาประยุกต์ใช้ ไม่ว่าจะเป็นของสภาองค์กรชุมชน กองทุนสวัสดิการชุมชน รวมถึง กระบวนการสมัชชาสุขภาพ โดยมีการใช้กระบวนการสมัชชาฯ ในการรวบรวมคน เปิดพื้นที่กลางเพื่อถกแถลงและหาข้อสรุปร่วมกัน

“สิ่งเหล่านี้ทำให้เราเรียนรู้ว่า วิธีการต่อสู้ของภาคประชาชนไม่จำเป็นต้องประท้วงอย่างเดียว แต่เมื่อเรามีแนวทางที่เป็นความต้องการคนในพื้นที่ มีข้อมูล มีแผนที่ชัดเจน สุดท้ายผู้ว่าฯก็ให้การยอมรับแผนพัฒนาจังหวัด ซึ่งเป็นแผนงานที่คนพังงาร่วมกันวิเคราะห์และเสนอความต้องการของตน สู่การกำหนดทิศทางการพัฒนาบ้านเมืองที่ตัวเองรัก ไม่ใช่แผนงานที่คิดจากข้าราชการที่ทำงานสนองตอบนโยบายที่ถูกกำหนดมาจากบุคคลภายนอก”นายไมตรี กล่าว

ด้านนางชาตรี มูลสาร ผู้อำนวยการสถาบันการเรียนรู้พังงาแห่งความสุข กล่าวว่า ในอดีต เมื่อมีการโยกย้าย ผู้ว่าฯพังงา มาดำรงตำแหน่งใหม่ ภาคประชาชนก็จะมีการรวมตัวกันเพื่อชุมนุมยื่นข้อเรียกร้องในบรรยากาศการเผชิญหน้า เพราะชาวบ้านต้องการให้ผู้บริหารเข้าใจและรับฟัง แต่ปัจจุบันกลายเป็นว่า เมื่อมีการโยกย้าย ผู้ว่าฯพังงา คนใหม่ ก็จะต้องมีการจัด สมัชชาพังงาแห่งความสุข 1 ครั้ง โดย ผู้ว่าฯทุกคนที่เข้ามาดำรงตำแหน่งก็จะให้ความสำคัญกับงานนี้ ภาพความขัดแย้งที่เคยเกิดขึ้นทุกวันนี้ไม่มีอีกแล้ว สำหรับสถาบันเรียนรู้การพัฒนาพังงาแห่งความสุข จัดตั้งขึ้นในปี 2563 ภายใต้การออกแบบการเรียนรู้ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) เพื่อเปิดพื้นที่การสื่อสารและถ่ายทอดกระบวนการพัฒนาการทำงานในพื้นที่ จ.พังงา โดยมีด้วยกัน 6 หลักสูตร ได้แก่ 1.รมณีย์ : จัดสรรทรัพย์ แบ่งปันสุข 2.บ้านน้ำเค็ม : วางแผน ป้องกัน แก้ไข ภัยพิบัติด้วยชุมชน 3.โคกเจริญ : สุขภาพดี วิถีโคกเจริญ 4.รวมคนสร้างเมืองตามแนวคิดพังงาแห่งความสุข 5.เกาะยาวน้อย : สู่ความสุขร่วมของคนในชุมชน และ6.มอแกลนทับตะวัน : เข้าใจพหุวัฒนธรรม สร้างสรรค์พลเมืองโลก ทุกวันนี้ยังเปิดให้บุคคลภายนอกเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้

นางกัลยา โสภารัตน์ ประธานสถาบันการเงินชุมชนบ้านรมณีย์ อ.กะปง จ.พังงา

ด้านนางกัลยา โสภารัตน์ ประธานสถาบันการเงินชุมชนบ้านรมณีย์ อ.กะปง จ.พังงา ซึ่งเป็น 1 ใน 6 หลักสูตรของ “สถาบันการเรียนรู้พังงาแห่งความ” กล่าวว่า ในอดีตคนในชุมชนบ้านรมณีย์ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเป็นเกษตรกร มีปัญหาเรื่องของภาระหนี้สิน ประกอบกับการมาของกองทุนหมู่บ้านฯ เมื่อชาวบ้านขาดระบบการบริหารจัดการเงินที่ดี จึงทำให้เป็นหนี้สินที่พอกพูนลามไปจนถึงการเป็นหนี้นอกระบบ ตนเองจึงได้ลุกขึ้นมาจัดตั้งเป็นกลุ่มออมทรัพย์ และเชิญชวนชาวบ้านเป็นสมาชิกฝากเงินทุกเดือน จากนั้นเอาเงินในกองทุนไปต่อยอด เป็นอาชีพ สร้างรายได้ ฯลฯ ปัจจุบันเงินในกองทุนที่ดำเนินการมาเกือบ 20 ปี มียอดรวมไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท โดยเงินในกองทุนนี้ได้นำไปใช้ซื้อหนี้นอกระบบของชาวบ้าน เพื่อให้ได้มาผ่อนชำระโดยตรงกับกองทุน หรือแม้แต่การนำเงินไปใช้เพื่อซื้อทรัพย์สิน รถจักรยานยนต์ หรือต่อเติมซ่อมแซมบ้าน ก็ได้เช่นเดียวกัน แทนที่ชาวบ้านจะต้องไปผ่อนพร้อมดอกเบี้ย กองทุนใช้วิธีซื้อเงินสดมาแล้วให้สมาชิกผ่อนต่อ นอกจากนี้ยังมีการรวมตัวก่อตั้งกลุ่มงานต่างๆ รวมทั้งกลุ่มวิสาหกิจการเกษตร ที่รวบรวมผลผลิตเพื่อสร้างพลังการต่อรองราคาสินค้า เช่น ยางพารา อีกด้วย

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on pinterest
Pinterest

Social Media

Most Popular

Categories

“Wander & Sip” ชวนมาจิบ มาชิม เที่ยวส่งท้ายฤดูฝนไปกับบรรยากาศแคมป์ปิ้งดนตรีชิลล์ ใกล้เมืองตรัง พร้อมกิจกรรม DIY 27-29 ก.ย.นี้

ตรัง-ชวนเที่ยวส่งท้ายฤดูฝนแบบชิลล์ๆ กับงาน “Wander & Sip ชวนมาจิบ มาชิม” สัมผัสบรรยากาศสุดคูลในธีมแคมป์ปิ้งใกล้เมืองตรัง พร้อมการแสดงดนตรีสดสบายๆ เน้นแนวคิด Eco-friendly เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ส่งเสริมการท่องเที่ยวช่วงปลายฤดูฝน ภายในงานมีร้านอาหาร เครื่องดื่ม และกิจกรรม DIY จากผู้ประกอบการท้องถิ่นกว่า 15 ร้าน 27-29 กันยายนนี้

“ม.อ.” จับมือ “หัวเว่ย” เปิดตัวศูนย์นวัตกรรมฯ ICT แห่งแรกล้ำสมัยสุดในเอเชียแปซิฟิกที่ม.อ.ตรัง ถ่ายทอดองค์ความรู้ขั้นสูงระดับโลกด้าน ICT-ดิจิทัล

ตรัง-“ม.อ.” จับมือ “หัวเว่ย” เปิดตัวศูนย์นวัตกรรมฯ ICT แห่งแรกล้ำสมัยสุดในเอเชียแปซิฟิก ถ่ายทอดองค์ความรู้ขั้นสูงระดับโลก ICT-ดิจิทัล ด้าน “อธิการ” เชิญชวนสถาบันการศึกษา-ผู้สนใจใช้บริการ ผ่านหลักสูตรรับใบรับรอง ตั้งเป้าพัฒนาคน-นศ.สู่ตลาดงาน ขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านในโลกดิจิทัล สอดรับผลจัดอันดับที่ 1 มหาลัยอิเล็กทรอนิกส์ภาคใต้

“ผู้การเหน่” ทุ่ม 40 ล้าน เนรมิตสนาม “เมืองตรังสเตเดี้ยม” ที่ห้วยยอด ดัน “เมืองตรังยูไนเต็ด” เผยผลงานไทยลีก 3 ชนะต่อเนื่อง

ตรัง-“ผู้การเหน่” นักธุรกิจดังชาวตรัง ทุ่ม 40 ล้านเนรมิตสนามฟุตบอล “เมืองตรังสเตเดี้ยม” ที่ อ.ห้วยยอด หนุนทีม “เมืองตรัง ยูไนเต็ด” มีสนามของตัวเอง เผยเป็นสนามสโมสรฯแห่งแรกภาคใต้ ลำดับ 5 ของประเทศ จัดกิจกรรมออกกำลังกาย-พบปะ-สันทนาการปชช. ชาวบ้านเฮ สานฝันสร้างเยาวชนสู่เมืองฟุตบอลอาชีพ เผยผลงานไทยลีก 3 ชนะต่อเนื่อง ชวนลุ้นฟาดแข้งนราธิวาส 14 ก.ย.นี้

ค้นหาหัวข้อข่าวที่คุณสนใจ

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors